ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เลื่อน พงษ์โสภณ

นาวาอากาศเอก เลื่อน พงษ์โสภณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลแห่งแรกในประเทศไทย ปรมาจารย์มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง นักบิน ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนแรกของประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย

นาวาอากาศเอก เลื่อน เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่ตำบลสามยอด จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของขุนเชี่ยวหัสดิน (เถา) และนางแฉ่ง ซึ่งประกอบกิจการโรงเลื่อย และค้าขายเครื่องเรือน โดยใช้ชื่อว่า ร้านจำหน่ายของสยาม น.อ.เลื่อน เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนอรพินทร (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดบวรนิเวศ) เมื่ออายุได้ 6 ปี จากนั้นมารดาฝากไว้กับพระสงฆ์ เพื่อให้ศึกษาต่อทางศีลธรรมที่วัดรังษี ต่อมานางแฉ่งตั้งใจให้ศึกษาทางกฎหมาย แต่ฝ่าย น.อ.เลื่อนอยากเป็นทหาร จึงสมัครเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก

เมื่อใกล้สำเร็จการศึกษา เป็นระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง น.อ.เลื่อนตัดสินใจลาออกจากเส้นทางการเป็นนายร้อย เข้าสมัครเป็นทหารอาสาไปทำการรบที่ประเทศฝรั่งเศส ตามที่ทางราชการประกาศรับ ด้วยความกระตือรือร้น สมความปรารถนา ที่ต้องการไปแสวงหาความรู้ในต่างประเทศ จึงได้โอกาสจากรัฐบาลให้เรียนวิชาช่างยนต์และช่างเครื่องบินที่ประเทศฝรั่งเศสต่อไป น.อ.เลื่อน จึงเข้าสมัครและสอบได้อันดับที่ 1 ได้ใช้เวลาเรียนเพียง 3 ปีก็เรียนจบหลักสูตร แล้วเดินทางกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งสิบโทแห่งกองทัพอากาศเป็นครูสอนวิชาจักรยนต์แก่นายทหาร

น.อ.เลื่อน รับราชการจนครบ 2 ปีตามสัญญาที่ผูกมัดอยู่กับรัฐบาลแล้ว ก็ลาออกมาตั้งโรงงานรับซ่อมเครื่องยนต์อยู่ที่แพร่งสรรพศาสตร์ ขณะที่ตั้งโรงงานซ่อมรถอยู่นี่เองความคิดอันหนึ่งก็วูบขึ้นมาในสมอง คือความคิดที่จะฝึกคนไทยให้มีความรู้ในเรื่องเครื่องจักรตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุควิทยาศาสตร์ น.อ.เลื่อนจึงได้เปิด โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณ ที่บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร นับว่าเป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกที่มีในเมืองไทย เมื่อเปิดโรงเรียนช่างกลใหม่ ๆ ปรากฏว่า ไม่มีคนเรียนเพราะขณะนั้น คนไทยส่วนมากยังเชื่อถือกันอยู่ว่า อาชีพช่างกลเป็นอาชีพชั้นต่ำ ไม่ควรแก่การเรียน ความนิยมในการเป็นเสมียนยังฝังอยู่ในจิตใจของคนไทย โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณจึงประสบอุปสรรคสำคัญคือไม่มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนเลย แต่ น.อ.เลื่อนก็ไม่ละความพยายาม เขาได้ดำเนินกิจการของโรงเรียนไปโดยไม่ยอมท้อถอย คือการขอแรงคนให้เข้ามาเรียน และสอนให้ฟรี จนในภายหลังความนิยมในอาชีพช่างกลมีมากขึ้น นักเรียนช่างกลของเขาก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มาคิดเก็บเงินค่าเล่าเรียน จากนั้นโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณก็ดำเนินกิจการก้าวหน้าต่อมา กลายเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงดีมาเป็นเวลาถึง 30 ปีเศษ แม้ในบัดนี้ โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณจะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตามแต่ชื่อเสียงของโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของประชาชนคนไทยอยู่

ภายหลังจาก น.อ.เลื่อน เปิดโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณได้ไม่นานเท่าไรนัก ก็มีพวกรถไต่ถังคณะหนึ่งจากประเทศฟิลิปปินส์ เดินทางเข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ มีการแสดงท่าหวาดเสียวด้วยการขี่รถมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง อันเป็นที่ตื่นเต้นของชาวกรุงเทพฯ อยู่เป็นอันมาก ทางคณะ ได้ประกาศท้าให้รางวัล 200 ดอลลาร์แก่ผู้ใดก็ตาม ที่สามารถขี่รถไต่ถังได้ น.อ.เลื่อน ไปดูรถไต่ถังกับเขาด้วยเหมือนกันฟังคำประกาศท้าแล้ว ก็นึกอยากจะลองดู ด้วยเห็นว่า ไม่ใช่เป็นของยากเกินไปเลย สำคัญอยู่ที่กำลังใจดีและกล้าหาญ เมื่อกลับมาถึงบ้าน จึงรีบสร้างถังของตนเองขึ้น แล้วหัดซ้อมขี่รถไต่ถังวันแล้ววันเล่าจนสามารถขี่ได้คล่อง จึงไปอาสาขี่รถตามคำที่ประกาศท้า แต่ มิสเตอร์คิง หัวหน้าคณะรถไต่ถังฟิลิปปินส์เป็นนกรู้ และมีเหลี่ยมโกงจึงใช้กโลบายไม่ยอมให้ น.อ.เลื่อน ทดลอง และไม่จ่ายเงินให้ตามประกาศ อย่างไรก็ดีการขี่มอเตอร์ไซค์ไต่ถังนั้น นับว่า น.อ.เลื่อน เป็นคนไทยคนแรกที่สามารถทำได้ จากนั้น น.อ.เลื่อน ก็ได้สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาออกไปประกอบอาชีพในทางขี่รถไต่ถังเก็บสตางค์คนดูมากมาย แม้ในทุกวันนี้ การแสดงประเภทนี้ก็ยังเป็นที่สนใจของประชาชนอยู่มาก

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท ให้ไปศึกษาวิชาการบินที่วิทยาลัยปาร์กสแอร์ส (Parks Air College) ในเมืองเซนต์หลุยส์ตะวันออก (East St.Louis) รัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตร 3 ชนิด คือประกาศนียบัตรช่างกล ประกาศนียบัตรช่างเครื่องบิน และประกาศนียบัตรนักบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศนียบัตรนักบินนั้น น.อ.เลื่อน ได้รับประกาศนียบัตรการบินพาณิชย์ชั้นสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นคนแรกของประเทศไทย

ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น น.อ.เลื่อน รับจ้างแสดงการบินอย่างผาดโผนต่างๆ กลางอากาศ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงมีโอกาสเดินทางไปแสดงในรัฐต่างๆ หลายแห่ง สามารถเก็บเงินซื้อเครื่องบินปีกสองชั้นได้ 1 เครื่อง ในราคา 6,000 บาท ให้ชื่อว่าเครื่องบินนางสาวสยาม หรือ Miss Siam เมื่อถึงกำหนดกลับสู่ประเทศไทย น.อ.เลื่อน พยายามจะใช้เป็นพาหนะบินกลับมาด้วยตนเอง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องขนส่งกลับมาโดยวิธีการอื่น น.อ.เลื่อน ได้เพียรพยายามสมัครงานการบิน แต่ทุกแห่งที่นายเลื่อนไปสมัคร คือที่กองทัพอากาศแห่งหนึ่ง และที่บริษัทเดินอากาศอีกแห่งหนึ่ง ทั้งสองแห่งปฏิเสธไม่ยอมรับเขาเข้าทำงาน อ้างเหตุผลว่าไม่มีตำแหน่งว่าง ต้องว่างงานอยู่เป็นเวลา 1 ปี น.อ.เลื่อน จึงมีดำริในการพิสูจน์ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์

การที่ น.อ.เลื่อน เข้าทำงานไม่ได้ดังกล่าว ทำให้ สมาคมสามัคคี (สมาคมสหมิตร) เกิดน้อยอกน้อยใจแทน จึงเรียก น.อ.เลื่อน ไปถามว่า จะให้บินเดี่ยวไปต่างประเทศจะได้ไหม นายเลื่อนตอบไปว่าได้ จากนั้นพรรคพวกก็ช่วยกันเรี่ยไรเงินรวบรวมได้สัก 2,000 บาท นำมามอบให้ น.อ.เลื่อน ผู้ขันอาสาที่จะบินไปประเทศจีน ซึ่งในสมัยนั้น ยังไม่มีนักบินไทยคนไหนเคยบินไปถึง เมื่อได้ตกลงใจแน่นอนแล้ว น.อ.เลื่อน ก็ยื่นขออนุญาตต่อกระทรวงกลาโหมก่อน กว่าจะได้รับอนุญาตให้บินได้ก็กินเวลาเข้าไปถึง 6 เดือน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว น.อ.เลื่อน ก็ออกบินจากสนามบินดอนเมืองด้วยเครื่องบินนางสาวสยาม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เขาบินผ่านไปลงพักที่จังหวัดนครราชสีมา 1 คืน พักที่นครพนม 1 คืน ออกจากนครพนมก็บินมุ่งไปยังสนามบินวิน แล้วไปฮานอย ปากหอย ไทเป และกวางเจาวัน จนถึงฮ่องกงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อันเป็นวันเดียวกันกับที่คณะราษฎรได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในประเทศไทย บินไปถึงซัวเถา แต่ไม่สามารถบินต่อไปจนถึงเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากจีนกำลังสู้รบกับญี่ปุ่นที่เซี่ยงไฮ้ น.อ.เลื่อน พักอยู่ที่เมืองจีนได้ 7 วันก็บินกลับประเทศไทย

ระหว่างการเดินทางก็ประสบกับอุปสรรคอย่างมาก อาทิ เครื่องบินเสียต้องร่อนลงซ่อมเครื่องเองแวะลงที่ไหนก็ถูกทหารเมืองนั้นจับกุมมีความลำบากในเรื่องอาหารการกินและที่พักหลับนอน บางแห่งไม่มีสนามบินต้องร่อนลงที่โล่งกว้างอย่างสนามฟุตบอลแทน ในช่วงที่บินผ่านมณฑลกวางตุ้งถูกเรือรบใช้ปืนยิงเครื่องบินทะลุ เพราะเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังทำสงครามแย่งอำนาจกันอยู่ในขณะนั้น จึงต้องร่อนลงที่ชายหาดและใช้ปฏิภาณตลอดจนความรู้เรื่องช่างเครื่องยนต์มาแก้ปัญหา เอาตัวรอดมาได้อย่างหวุดหวิด

เมื่อถึงประเทศไทยแล้ว น.อ.เลื่อน นำเครื่องบินนางสาวสยาม จากสนามบินดอนเมือง กลับไปไว้ที่บ้านพักย่านบางขุนพรหม เพราะไม่มีสตางค์เสียค่าจอดในโรงเก็บเดือนละ 50 บาท และจะบินไปไหนตามใจชอบก็ไม่ได้ หากจะทำการบิน ต้องขออนุญาตทุกครั้งไป ทั้งไม่สามารถบินให้ไกลกว่า 50 ไมล์ได้ เนื่องจากทางราชการอนุญาตให้ทำการบินได้เพียงโดยรอบสนามบินเท่านั้น เมื่อมีเรื่องยุ่งยากดังนี้ น.อ.เลื่อน จึงไม่คิดทำการบินอีกต่อไป

ระหว่างที่ น.อ.เลื่อน สมัครเข้าทำงานในบริษัทเดินอากาศ แต่ถูกย้ายไปประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเวลา 5 ปี เขาได้ใช้เวลาว่างขณะที่อยู่ในจังหวัดนั้นประดิษฐ์รถสามล้อขึ้น ทั้งนี้ ก็โดยที่เห็นว่า รถเจ๊ก หรือรถลากซึ่งมีใช้กันอยู่ทั่วไปในขณะนั้น เป็นการทรมานแก่ผุ้คน และไม่รวดเร็ว ความเร็วของรถเจ๊ก ก็เท่ากับความเร็วของคนวิ่งช้า ๆ เท่านั้นเอง น.อ.เลื่อน ได้ใช้เวลา 1 ปี ก็ประดิษฐ์รถสามล้อสำเร็จ คือเมื่อ พ.ศ. 2476 จากนั้น ก็ได้นำเข้ามาจดทะเบียนที่กรุงเทพฯ โดย น.อ.เลื่อน เป็นผู้ขับขี่ด้วยตนเอง ในครั้งนั้น นายพันตำรวจตรี หลวงพิชิตธุระการ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้นั่งทดลองรถสามล้อเป็นคนแรก ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ปรากฏว่า ตั้งแต่วันนั้น เป็นต้นมา ประชาชนคนไทยก็โจษขานกันเซ็งแซ่ไปทั้งเมือง ด้วยเห็นเป็นของแปลก

หลังจากจดทะเบียนแล้ว 1 เดือน น.อ.เลื่อน ก็สามารถประดิษฐ์รถสามล้อออกได้ถึง 50 คัน แต่ต่อจากนั้น ก็มีผู้ลอกแบบเอาอย่างไปทำกันเป็นอันมาก รถสามล้อก็เป็นที่นิยมของคนอย่างกว้างขวาง ได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็วทั้งในกรุงและหัวเมืองต่าง ๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นานนัก น.อ.เลื่อนเข้าทำงานกับบริษัท ขนส่ง จำกัด (Aerial Transport Company Limited) ที่จังหวัดนครราชสีมา และมีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานหลายคน จึงเกิดความสนใจในเรื่องการเมือง เนื่องจากมีความปรารถนาจะช่วยเหลือประเทศชาติ น.อ.เลื่อนจึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดนครราชสีมา ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ด้วยมีทุนรอนน้อยจึงมิได้ตั้งความหวังไว้มากนัก ทว่าบังเอิญได้รับเลือกตั้ง จึงเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเล่นการเมือง และลาออกจากงานตั้งแต่บัดนั้น ทั้งนี้ น.อ.เลื่อนได้รับเลือกตั้งถึง 6 สมัย เป็นเวลาประมาณ 25 ปี โดย น.อ.เลื่อน ยังร่วมกับคณะนายทหาร เข้ากระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การน้ำตาลไทย เป็นระยะเวลา 10 ปี และได้รับพระราชทานยศเป็น นาวาอากาศเอก เมื่อปี พ.ศ. 2500

หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว น.อ.เลื่อน ใช้เวลาว่างเดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศเป็นครั้งคราว รวมทั้งเข้าศึกษาวิชาการพิมพ์ลายผ้า ที่สหรัฐอเมริกาจนจบหลักสูตร มีดำริจะทำโรงพิมพ์ผ้าลายไทยในประเทศไทย แต่สุขภาพไม่เอื้ออำนวยจึงยุติไป น.อ.เลื่อน ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 80 ปี น.อ.เลื่อน สมรสกับคุณหญิงสุเนตร (นามสกุลเดิม: บุญญสิทธิ์) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 มีธิดา 2 คนคือ ทิพยาภรณ์ กับผาณิต (สมรสกับวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ประธานกรรมการบริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด) และบุตร 1 คนคือ เลิศชาย

มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • ผัน นาวาวิจิต • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สงวน จูทะเตมีย์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • หม่อมสนิทวงศ์เสนี • สุกิจ นิมมานเหมินท์ • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมาณ อดิเรกสาร • หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) • กฤช ปุณณกันต์ • บุณย์ เจริญไทย • พงษ์ ปุณณกันต์ • กฤษณ์ สีวะรา • โอสถ โกศิน • อรุณ สรเทศน์ • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • สุรินทร์ เทพกาญจนา • ชาติชาย ชุณหะวัณ • เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ • เกษม จาติกวณิช • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • ชาติชาย ชุณหะวัณ • อบ วสุรัตน์ • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • ประมวล สภาวสุ • บรรหาร ศิลปอาชา • ประมวล สภาวสุ • สิปปนนท์ เกตุทัต • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ • โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ • กร ทัพพะรังสี • สมศักดิ์ เทพสุทิน • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พินิจ จารุสมบัติ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • วัฒนา เมืองสุข • สุวิทย์ คุณกิตติ • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ • ประชา พรหมนอก • ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง • ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ • ประเสริฐ บุญชัยสุข • จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช • อรรชกา สีบุญเรือง

(รัฐมนตรีช่วย) หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) • หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) • เสมอ กัณฑาธัญ • เลื่อน พงษ์โสภณ • ประมาณ อดิเรกสาร • ชื่น ระวิวรรณ • สงวน จันทรสาขา • สะอาด หงษ์ยนต์ • ประกายเพชร อินทุโสภณ • แสวง พิบูลย์สราวุธ • วัฒนา อัศวเหม • แผน สิริเวชชะพันธ์ • บรรหาร ศิลปอาชา • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • วิมล วิริยะวิทย์ • อาชว์ เตาลานนท์ • โกศล ไกรฤกษ์ • ไกรสร ตันติพงศ์ • วิสิษฐ์ ตันสัจจา • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ • บรม ตันเถียร • วงศ์ พลนิกร • ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ • อนันต์ ฉายแสง • มีชัย วีระไวทยะ • ประมวล สภาวสุ • สมบูรณ์ จีระมะกร • กร ทัพพะรังสี • ดุสิต รังคสิริ • ไพฑูรย์ แก้วทอง • สมาน ภุมมะกาญจนะ • สมภพ อมาตยกุล • ประยูร สุรนิวงศ์ • วีระ สุสังกรกาญจน์ • เรืองวิทย์ ลิกค์ • อุดมศักดิ์ ทั่งทอง • พรเทพ เตชะไพบูลย์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • ประเทือง คำประกอบ • สนธยา คุณปลื้ม • อนุสรณ์ วงศ์วรรณ • ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ • พลกฤษณ์ หงษ์ทอง • อนุรักษ์ จุรีมาศ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย • พิเชษฐ สถิรชวาล • ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ • ฐานิสร์ เทียนทอง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301